วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2550

ภาวะโลกร้อน

  • ปรากฏการณ์โลกร้อน
    เว็บย่อ: th.wikipedia.org/wiki/GW

    บทความนี้ถูกล็อกเนื่องจากถูกก่อกวนหลายครั้งติดต่อกัน การแก้ไขจากผู้ที่ไม่ได้ลงทะเบียน หรือผู้ใช้ใหม่ไม่สามารถทำได้คุณสามารถเสนอข้อความเพื่อปรับปรุงบทความ หรือขอให้ยกเลิกการป้องกันได้ในหน้าอภิปราย อย่างไรก็ตามบทความนี้สามารถแก้ไขได้ตามปกติสำหรับผู้ใช้ทั่วไป

    อุณหภูมิเฉลี่ยที่ผิวโลก ที่เพิ่มขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1860-1990
    ปรากฏการณ์โลกร้อน หรือ สภาวะโลกร้อน (global warming) คือปรากฏการณ์ที่อุณหภูมิเฉลี่ยของผิวโลกและผืนมหาสมุทรสูงขึ้น โดยมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ เป็นตัวการกักเก็บความร้อนจากแสงอาทิตย์ไว้ไม่ให้คายออกไปสู่บรรยากาศ
    ปรากฏการณ์โลกร้อนถือเป็นผลพวงจากการมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกิดขึ้นในบรรยากาศ ซึ่งเป็นสาเหตุให้รังสีความร้อนที่ผ่านชั้นบรรยากาศเข้ามาถูกกักไว้ในโลกโดยไม่สามารถสะท้อนกลับออกไปได้ หรือที่เรียกว่าภาวะเรือนกระจก การเกิดขึ้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ส่วนใหญ่มีสาเหตุจากกระบวนการเผาไหม้ของการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล อาทิ น้ำมันปิโตรเลียม ถ่านหิน เป็นต้น ทั้งจากกิจกรรมการขนส่งและการผลิตกระแสไฟฟ้า แนวทางหนึ่งของการลดปริมาณการผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ คือ ลดการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล โดยส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนให้มากขึ้น อาทิ พลังงานชีวมวล พลังงานน้ำ พลังลม พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานจากเซลล์เชื้อเพลิง พลังงานนิวเคลียร์ เป็นต้น อย่างไรก็ตามการส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนจะประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับความก้าวหน้าในการพัฒนาเทคโนโลยีมารองรับ ซึ่งปัจจุบันการใช้พลังงานหมุนเวียนบางประเภทยังมีต้นทุนที่แพงกว่าพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล (เช่น พลังงานแสงอาทิตย์พลังงานจากเซลล์เชื้อเพลิง) มีกระแสต่อต้านจากมวลชนเกี่ยวกับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (เช่น พลังงานนิวเคลียร์ พลังงานน้ำจากการสร้างเขื่อน) และปัญหาความเพียงพอของวัตถุดิบในการผลิตเชื้อเพลิง (เช่น พลังงานชีวมวล ซึ่งใช้วัตถุดิบร่วมกับภาคเกษตร)
    เนื้อหา
    1 สาเหตุ
    2 ผลกระทบ และผลลัพธ์ที่คาดว่าจะตามมา
    2.1 ต่อสภาพภูมิอากาศ
    2.2 ต่อทะเลและมหาสมุทร
    2.3 ต่อมนุษย์
    3 ตัวอย่างผลกระทบที่เกิดขึ้น
    3.1 สภาพภูมิอากาศ
    3.2 สภาพภูมิประเทศ
    3.3 แหล่งน้ำ
    3.4 มนุษย์
    4 การแก้ปัญหา
    5 ดูเพิ่ม
    6 อ้างอิง
    7 แหล่งข้อมูลอื่น
    //

    สาเหตุ
    มหันตภัยร้ายที่กำลังคุกคามโลกอยู่ขณะนี้ คือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ ปริมาณมหาศาลที่มนุษย์เป็นผู้ก่อ ถูกปล่อยออกมาสู่ชั้นบรรยากาศโลกหนาขึ้นเท่าไร ก็จะเป็นตัวการกักเก็บความร้อนจากแสงอาทิตย์ไว้ไม่ให้คายออกไปสู่บรรยากาศ ซึ่งมีต้นเหตุจากการที่มนุษย์ได้เพิ่มปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จาก การเผาไหม้เชื้อเพลิงต่างๆ การขนส่งและ การผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม นอกจากนั้น มนุษย์เรายังได้เพิ่มก๊าซกลุ่มไนตรัสออกไซด์และคลอโรฟลูโรคาร์บอน (CFC) เข้าไปอีกด้วยพร้อมๆกับการที่เราตัดและทำลายป่าไม้จำนวนมหาศาล ทำให้กลไกในการดึงเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกไปจากระบบบรรยากาศถูกลดทอนประสิทธิภาพลง และได้หวนกลับมาสู่เราในลักษณะของสภาวะโลกร้อน ก็จะส่งผลให้อุณหภูมิของบรรยากาศโลก สูงขึ้นจนถึงระดับอันตรายผืนน้ำแข็งบริเวณขั้วโลกเหนือและธารน้ำแข็งบนภูเขาทั้งหมดทั่วโลกค่อยๆ ละลายลงเรื่อยๆ และอาจจะทำให้ระดับน้ำทะเลทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นถึง 20 ฟุต

    ผลกระทบ และผลลัพธ์ที่คาดว่าจะตามมา

    ต่อสภาพภูมิอากาศ
    สภาพอากาศแปรปรวนมากยิ่งขึ้น
    ความชื้นในอากาศเพิ่มมากขึ้นเนื่องด้วยการระเหยของน้ำที่มากขึ้น
    ความไม่มั่นคงของอุณหภูมิ

    ต่อทะเลและมหาสมุทร
    ธารน้ำแข็งและน้ำแข็งตามทั่วโลกละลาย
    น้ำทะเลสูงขึ้น
    อุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทรสูงขึ้น
    การเปลี่ยนสภาวะของน้ำเป็นกรด
    การหยุดไหลของกระแสน้ำอุ่น

    ต่อมนุษย์
    เกิดการขาดแคลนน้ำดื่ม
    เกิดการอพยพย้ายที่อยู่อาศัยเนื่องจากโดนน้ำท่วม
    เกิดโรคร้ายเพิ่มขึ้น

    ตัวอย่างผลกระทบที่เกิดขึ้น

    สภาพภูมิอากาศ
    ปี 2004 บราซิลซึ่งตั้งอยู่บริเวณส่วนใต้ของมหาสุมุทรแอตแลนติกถูกถล่มด้วยพายุเฮอร์ริเคนครั้งแรกในประวัติศาสตร์ หลังจากที่นักวิทยาศาสตร์เชื่อกันมาตลอดว่า "เป็นไปไม่ได้ที่เฮอร์ริเคนจะก่อตัวขึ้นในส่วนใต้ของมหาสุมุทรแอตแลนติก"
    ปี 2005 สหรัฐอเมริกาต้องเผชิญกับพายุเฮอร์ริเคนถึง 27 ลูกซึ่งรวมถึงเฮอร์ริเคนแคทรีนาที่สร้างความเสียหายอย่างหนักให้เมืองนิวออร์ลีนส์ ในขณะที่ญี่ปุ่นถูกถล่มด้วยพายุไต้ฝุ่นมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ถึง 10 ลูก จากเดิมที่มีสถิติสูงสุดเพียง 7 ลูกต่อปีเท่านั้น
    ปี 2006 ออสเตรเลียถูกพายุไซโคลนระดับ 5 ซึ่งมีกำลังมหาศาลเข้าถล่มหลายลูก โดยเฉพาะไซโคลนโมนิกาที่วัดได้ว่าเป็นไซโคลนที่มีกำลังแรงที่สุดเท่าที่เคยมีมา โดยไซโคลนลูกนี้มีกำลังมากกว่าเฮอร์ริเคนแคทรีนาเสียอีก

    สภาพภูมิประเทศ

    แหล่งน้ำ
    ทะเลสาบชาด อดีตทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 6 ของโลก แหล่งน้ำกินน้ำใช้ของประชาชนในประเทศชาด ไนจีเรีย แคเมอรูนและไนเจอร์ ภายในเวลาเพียง 40 ปี ทะเลสาบแห่งนี้ ต้องประสบกับการเหือดแห้งของน้ำในทะเลสาบอย่างรุนแรง จนกระทบต่อชีวิตของผู้คนที่อาศัยอยู่รอบทะเลสาบอย่างรุนแรง

    มนุษย์

    การแก้ปัญหา
    ใช้อุปกรณ์ที่มีคุณภาพ ไม่กินพลังงานไฟฟ้า
    ใช้หลอดไฟ LED ช่วยประหยัดพลังงานได้ 40%
    ใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า
    ควบคุมการเกิดของประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้ต้องใช้พลังงานมากขึ้น
    แยกขยะ นำของเก่ามาใช้ใหม่ได้
    ใช้รถยนต์ประหยัดพลังงาน

    ดูเพิ่ม
    คอนเสิร์ตไลฟ์เอิร์ธ

    อ้างอิง
    คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศแห่งสหประชาชาติ (อังกฤษ)
    Whyworldhot.com หยุด! โลกร้อน

    แหล่งข้อมูลอื่น
    โลกร้อน คืออะไร ? จาก วิชาการ.คอม
    สภาวะโลกร้อน จากนิตยสารสารคดี
    ปรากฏการณ์โลกร้อน จากโครงการการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และอวกาศ
    สภาวะโลกร้อน จากสมาคมนิวเคลียร์แห่งประเทศไทย

ไม่มีความคิดเห็น: